태국어 운전면허 용어 해설집
외국인 운전면허시험 응시자를 위한 도로교통 및 운전에 대한 용어 해설집
ขอบถนน | บริเวณขอบถนนที่ไม่มีการจำแนกความแตกต่างให้ชัดเจนระหว่างทางเดินเท้ากับถนนสำหรับยานพาหนะ ขอบเขตจะถูกทำเครื่องหมายโดยป้ายความปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยของคนเดินเท้า |
รถจักรยานยนต์ | ยานพาหนะสองล้อที่สามารถนั่งโดยสารได้หนึ่งหรือสองคน หรือ ยานพาหนะสองล้อที่มีรถพ่วงติดอยู่ด้านข้าง |
ถนนใหญ่สองทาง | คำตรงข้ามของถนนทางเดียว (ถนนสองทาง) |
ช่องทางเร่งความเร็ว | ช่องทางที่ยานพาหนะสามารถทำความเร็วที่เพียงพอได้ก่อนเข้ารวมกับยานพาหนะอื่นในช่องทางหลัก |
เส้นการมองเห็น | ระยะที่คนขับมองเห็นได้ |
อัตราการทะลุผ่านแสงที่เห็นได้ชัดเจน | ปริมาณแสงที่มองเห็นได้ส่องผ่านเข้าสู่ยานพาหนะผ่านทางผิวกระจกกรองแสง |
ถนนข้างทาง | ถนนที่ขอบของทางหลวงหรือถนนสำหรับยานพาหนะเท่านั้นที่ซึ่งยานพาหนะสามารถสัญจรได้ |
ทางข้ามทางรถไฟ | ทางแยกที่ทางรถไฟกับถนนตัดกัน |
พระราชบัญญัติการจัดการเครื่องจักร | กฏหมายที่กำหนดการจดทะเบียน การตรวจสอบ และการอนุมัติเครื่องจักรก่อสร้างเพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรมก่อสร้าง |
ใบอนุญาตทำการเกี่ยวกับเครื่องจักรก่อสร้าง | ใบอนุญาตที่ต้องมีในการดำเนินการเกี่ยวกับเครืองจักรก่อสร้าง |
ป้ายระวัง | ป้ายสัญญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้เตือนคนขับเกี่ยวกับอันตรายที่มีอยู่บนถนนหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้บนถนน |
แท่งเบา /แถบจาง | ไฟเตือนสี่เหลืองหรือสีเขียวที่ติดตั้งบนยานพาหนะฉุกเฉิน |
การแจ้งเตือน | อุปกรณ์แจ้งเตือนอุบัติเหตุหรือวิบัติภัย |
แตร | อุปกรณ์ส่งเสียงเตือนที่ติดตั้งอยู่บนยานพาหนะ |
ความเร็วที่มีประสิทธิภาพ (ประหยัดน้ำมัน) | ความเร็วที่ทำได้สำหรับระยะการเดินทางสูงสุดโดยใช้เชื้อเพลิงที่ระดับต่ำสุด |
ทางหลวง | ถนนสำหรับยานพาหนะที่เดินทางด้วยความเร็วสูง |
ป้ายเตือนการหยุดลง | ป้ายเตือนว่ามีรถเสียอยู่ข้างหน้า |
แรงดันอากาศ | แรงดันลมในล้อของยานพาหนะ |
ระยะวิ่งอิสระ | ระยะจากที่เมื่อคนขับแตะเหยียบเบรคหลังจากตรวจพบอันตราย จนกระทั่งเบรคทำงานจริง |
(เครื่องยนต์) หมุนเปล่า | สภาพที่รถไม่เคลื่อนที่ขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่ |
ลูกเนินชะลดความเร็ว | ส่วนนูนที่ติดตั้งบนถนนเพื่อบังคับให้รถลดความเร็วลง |
ค่าปรับโทษ | การจ่ายเงินที่บุคคลถูกบังคับให้จ่ายสำหรับการละเลยความรับผิดชอบตามข้อบังคับของกฏหมายสาธารณะ |
ทางแยก | บริเวณที่ถนนตัดผ่านกัน และเป็นทีที่สามารถเกิดรถชนกันได้ |
พระราชบัญญัติกรณีพิเศษเกี่ยวกับการจัดการอุบัติเหตุจราจร | กฏหมายที่กำหนดกรณีพิเศษของการลงโทษทางอาชกรรมต่อคนขับที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุจราจรโดยการละเลยไม่เอาใจใส่ในเรื่องต่างๆ |
การคุ้มครอง | การกักขังผู้กระทำผิดในสถานดัดสันดาน หรือสถานที่กักขังเป็นเวลา 1-30 วัน |
ความช่วยเหลือ | ความช่วยเหลือฉุกเฉินต่อเหยื่อของอุบัติเหตุจราจร |
ใบอนุญาตขับขี่สากล | ระบบคุณสมบัติที่ให้คนขับสามารถใช้ยานพาหนะนอกประเทศที่อยู่อาศัยได้ |
รถบัสสองตอน | รถบัสที่ยาวกว่ารถบัสทั่วไปและทำเป็นสองตอนที่แข็งแรงเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อแกนหมุนเพื่อให้มีที่นั่งโดยสารได้มากขึ้นและสะดวกในการเลี้ยวตามทางแยก |
เร่งความเร็วกะทันหัน | การเพิ่มความเร็วโดยทันทีทันใด |
เบรคกะทันหัน | การเหยียบเบรคโดยทันทีทันใด |
หักพวงมาลัยกะทันหัน | การหักพวงมาลัยโดยทันทีทันใด |
ยานพาหนะฉุกเฉิน | ยานพาหนะที่ใช้ตอบสนองเหตุฉุกเฉินตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการจราจรบนถนน เช่น รถพยาบาลฉุกเฉิน, รถดับเพลิง รถตำรวจ |
อุปกรณ์ในการหาทิศทาง | อุปกรณ์หรือโปรแกรมที่ช่วยการขับขี่โดยการแสดงแผนที่ ที่ระบุเส้นทางที่เร็วที่สุด |
ระบบน้ำเย็นระบายความร้อน | น้ำที่ใช้ทำให้เครื่องยนต์ที่ร้อนเย็นลง |
เพิกเฉย | สภาพการณ์ที่ด้านหน้าของยานพาหนะยกขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสมดุลย์น้ำหนัก (nose down:สภาพการณ์ที่ด้านหลังของยานพาหนะยกขึ้นเนื่องจากแรงบังคับจากการเบรค) |
เขตซิลเวอร์โซน (สำหรับผู้สูงอายุ) | เขตที่กำหนดไว้สำหรับคุ้มครองคนเดินเท้าสูงอายุ |
เขตห้ามจอด | บริเวณที่ห้ามจอดรถ |
จำกัดความสูงของยานพาหนะ | ความสูงของสินค้า/ยานพาหนะ ที่ได้รับอนุญาตสำหรับถนนในบริเวณที่กำหนด |
ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะขนาดใหญ่ | ใบอนุญาตที่อนุญาตให้คุณขับรถตู้โดยสารหรือยานพาหนะบรรทุกสินค้า คุณต้องมีใบอนุญาตขับขี่พิเศษในการขับรถพ่วงและรถลาก |
ถนน | โดยส่วนมากหมายถึงถนนยานพาหนะและทางเท้า |
พระราชบัญญัติการจราจรบนถนน | กฏหมายที่บังคับใช้ให้เกิดความปลอดภัยในการจราจรและเกิดประสิทธิภาพผ่านการควบคุมอันตรายต่อความปลอดภัยและความไม่มีประสิทธิภาพบนท้องถนน |
การทดสอบการขับขี่บนถนน | การทดสอบความสามารถในการขับขี่บนถนนของคนขับ |
สิ่งอำนวยความสะดวกในการข้ามถนน | สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ทางข้ามคนเดินเท้า หรือ lสะพานลอยที่ช่วยให้คนเดินเท้าข้ามถนนได้ |
โซนคับขัน | กรณีเช่นบริเวณที่ทั้งการขับผ่านไปและการหยุดที่ทางแยกที่มีไฟเหลืองเป็นไปได้ยาก |
รถลาก | ยานพาหนะที่ใช้ให้ความช่วยเหลือ |
จำกัดการสวมใส่ | ระดับสูงสุดของการทนการสึกกร่อนของยางก่อนที่จะต้องการการเปลี่ยนยางใหม่ |
การข้ามถนนโดยผิดกฏหมาย | การกระทำการข้ามถนนโดยไม่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในการข้ามถนน |
ไฟท้าย | ไฟด้านหลังของยานพาหนะ |
การการเด้งกระดอน | สภาพการณ์ที่ยานพาหนะกระเด้งกระดอนบนสภาพถนนที่ไม่ดี |
การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ | วิธีการขับขี่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจร |
ป้ายเลี้ยว | ไฟกระพริบที่แจ้งทิศทางที่ยานพาหนะจะเคลื่อนไปยัง |
ช่องทางรถบัสเท่านั้น | ช่องทางที่จัดไว้สำหรับรถบัสบนทางหลวงหลัก |
ไฟป้ายเลขทะเบียน | ไฟที่ส่องสว่างป้ายเลขทะเบียนของยานพาหนะ |
การปรับ | การบังคับจ่ายชำระที่มีต่อผู้กระทำผิด |
การปรับฐานละเลยการเอาใจใส่ | ค่าปรับที่ใช้ปรับบุคคลที่ละเมิดพระราชบัญญัติการจราจรบนถนน |
ขีดจำกัดความเร็วของประเทศ | ขีดจำกัดความเร็วตามที่กฏหมายกำหนด |
เขตทางแคบแบบคอขวด | บริเวณที่แคบลงของถนน |
ทางเท้า | ถนนที่จัดไว้สำหรับคนเดินเท้า |
ใบอนุญาตขับขี่ทั่วไป | ใบอนุญาตคนขับที่ออกตามพระราชบัญญัติการจราจรบนถนน |
ช่องทางคนเดิน | เหมือนกับทางเท้า |
ถนนสำหรับคนเดินเท้าเท่านั้น | ถนนที่จัดไว้สำหรับคนเดินเท้า |
ป้องกันการเป็นน้ำแข็ง | สิ่งที่เพิ่มเข้าไปเพื่อลดอุณหภฺมิที่น้ำแข็งตัว |
กล่องดำ | อุปกรณ์บ้นทึกที่ตั้งอยู่ที่แผงหน้าปัด |
การเลี้ยวซ้ายที่ผู้ขับต้องให้ทางกับรถที่กำลังมาจากอีกทางหนึ่งก่อน | การเลี้ยวซ้ายที่ทำได้ที่ทางแยกที่ไม่มีป้ายเลี้ยวซ้าย เมื่อสัญญาณไฟจราจรเป็นสีเขียวตรงไป |
ไฟฉุกเฉิน | ไฟที่ใช้เตือนผู้อื่นกรณีฉุกเฉิน |
ไฟกระพริบฉุกเฉิน | เปิดสัญญาณเลี้ยวทั้งสองข้างเพื่อบอกเหตุฉุกเฉิน |
จุดบอด | มุมที่ขัดขวางการมองเห็นได้อย่างชัดเจน ของคนขับต่อยานพาหนะ ช่องทาง หรือสิ่งกีดขวาง |
ไซเรน | ไฟแดงที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาของยานพาหนะเพื่อบอกเหตุฉุกเฉิน |
ยานพาหนะเกียร์กะปุก | ยานพาหนะที่ติดตั้งอุปกรณ์เกียร์ที่คนขับต้องใช้มือเปลี่ยนเกียร์เองตามความเร็วแตกต่างกันไป |
อาการเหินน้ำ (ยางรถไม่สัมผัสกับพื้นถนนที่มีน้ำขัง) | ปรากฏการณ์ที่ล้อยางของยานพาหนะสูญเสียการสัมผัสกับผิวถนนเนื่องมาจากน้ำที่เคลือบอยู่ระหว่างผิวถนนกับยางรถ |
สัญญาณมือ | การให้สํญญาณโดยใช้มือ หรือแท่งสัญญาณ |
เขตเส้นหยุด | บริเวณที่มีเส้นหยุด |
เขตความเร็ว | บริเวณที่ให้เร่งความเร็วได้ |
ปั่น/ หมุน | ปรากฏการณ์ที่ล้อของยานพาหนะหมุนโดยปราศจากแรงฉุดดึงเนื่องจากจมหิมะ หรือจมโคลน |
ยานพาหนะโดยสาร | ยานพาหนะที่มีจำนวนที่นั่ง 6 ที่นั่งหรือน้อยกว่า |
จำนวนที่นั่งโดยสาร | จำนวนผู้โดยสารที่นั่งสูงสุดที่ยานพาหนะสามารถบรรทุกได้ โดยแต่ละที่นั่งมีขนาด 40 ซม. X 40 ซม. และไม่มีวัตถุใดล่วงล้ำ |
รถตู้โดยสาร | ยานพาหนะที่ออกแบบมาเพื่อบรรทุกสินค้าหรือผู้โดยสารจำนวนมาก |
ไฟจราจร | อุปกรณ์ควบคุมการจราจรที่แสดงสีต่างๆ กัน ในการชี้แนะยานพาหนะหรือคนเดินเท้า |
ไฟตัดหมอก | ไฟที่ติดตั้งอยู่ใต้ไฟหน้าของยานพาหนะเพื่อเพิ่มการมองเห็นท่ามกลางหิมะ ฝนตก หรือ หมอกลง |
ระยะปลอดภัย | ระยะที่ต้องรักษาไว้ระหว่างยานพาหนะที่กำลังสัญจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจร |
เขตปลอดภัย | ส่วนของถนนที่ถูกกำหนดโดยการทำเครื่องหมายบนผิวถนนหรือป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยสำหรับคนเดินทางใช้เท่านั้น |
สัญญลักษณ์ (ป้าย) ความปลอดภัย | ป้ายสัญลักษณ์ทั่วไปใดๆ ก็ตาม ที่แสดงสี่ รูปทรง แผนภาพ สัญลักษณ์ และข้อความต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมการจราจร และความปลอดภัย |
ความมืด | ระดับความเข้ม/ความมืด |
แซง | การกระทำการแซงยานพาหนะอื่นที่อยู่ข้างหน้าทางด้านข้าง |
ป้ายให้ทาง | ป้ายความปลอดภัยจราจร |
ป้ายถนนใหญ่ซ้ายหรือขวา | ป้ายที่ระบุว่าช่องทางหนึ่งจะแยกเป็นสองทางรอบเกาะจราจร |
เขตโรงเรียน | บริเวณที่ส่วนมากอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรียอนุบาลหรือเขตโรงเรียนซึ่งถูกกำหนดไว้เพื่อคุ้มครองเด็ก |
ถุงลมนิรภัย | อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้โดยสารยานพาหนะจากการมีส่วนร่วมในการชน |
ขับผิดเส้นทางจราจร | การกระทำการขับที่ขัดขวางการไหลเวียนของการจราจร |
ขอบทางเดิน | ขอบเขตที่ทำด้วยหินติดตั้งอยู่ใกล้ทางเท้าและถนนยานพาหนะ เพื่อความปลอดภัยของคนเดินเท้า เพื่อระบายน้ำ เพื่อชี้แนะคนขับ เพื่อแบ่งแยกถนนกับทางเท้าให้ชัดเจน และเพื่อบำรุงรักษาถนน |
ใบอนุญาตขับขี่ของผู้ฝึกหัด | ใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ชั่วคราวกับบุคคลที่ผ่านการทดสอบหลักสูตรการขับขี่ก่อนการทดสอบการขับขี่บนถนน |
ถนนเอก (ผ่านถนนอื่น) | ถนนที่อนุญาตให้มีการข้าม เข้าหรือออกจากถนนด้านข้างได้
แต่มีการควบคุมโครงสร้างและการจราจรเพื่อป้องกันการขัดขวางการไหลเวียนของการจราจรในช่องทางหลัก |
ถนนเชื่อมกันทางขวา | ป้ายที่บอกว่าช่องทางขวาจะเชื่อมรวมเข้ากับถนนหลักในเร็วๆ นี้ |
เลี้ยวขวา | การเลี้ยวไปทางขวา |
ประกันคนขับรถ | การประกันที่ให้การชดเชยต่อการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ของคนขับหรือผู้โดยสารยานพาหนะ |
เครื่องวัดความเร็วรอบของรถ | อุปกรณ์ที่บันทึกระยะการเดินทางของยานพาหนะ |
รถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก | รถจักรยานที่ติดตั้งเครื่องยนต์เล็ก (ความจุเครื่องยนต์ 50 ซีซี หรือน้อยกว่า) |
การขับขี่ขณะมึนเมา | การขับขี่ขณะอยู่ภายใต้อิทธิพลของแอลกอฮอลล์ |
รถจักรยานยนต์ | ยานพาหนะสองล้อที่มีความจุเครื่องยนต์ 125 ซีซี หรือน้อยกว่า ซึ่งไม่ใช่ยานพาหนะขนาดใหญ่ หรือ ยานพาหนะพิเศษขนาดเล็ก |
ถนนสองช่องทาง | ถนนที่อยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ความกว้าง 9 เมตร หรือน้อยกว่า |
สภาพอากาศไม่ดี | โดยส่วนมากหมายถึงน้ำท่วม ความแห้งแล้ง และ ความร้อนจัด หรือความเย็นจัด ที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ |
หยุด | การกระทำการนำยานพาหนะให้หยุดลงโดยสมบรูณ์ |
ยานพาหนะเกียร์อัตโนมัติ | ยานพาหนะที่ติดตั้งอุปกรณ์เกียร์ที่เปลี่ยนเกียร์ได้โดยอัตโนมัติ ตามความเร็วของยานพาหนะ หรือเครื่อยนต์ RPM |
พระราชบัญญัติการจัดการยานพาหนะ | กฏหมายที่กำหนดการจดทะเบียน มาตรฐานความปลอดภัย การตรวจสอบคนขับ การแก้ไขความบกพร่อง กิจกรรมการบำรุงรักษายานพาหนะ และธุรกิจการให้บริการยานพาหนะ |
ถนนสำหรับยานพาหนะเท่านั้น | ถนนที่อนุญาตให้ยานพาหนะยานยนต์สัญจรได้เท่านั้น |
การทดสอบหลักสูตรการขับขี่ | การทดสอบความสามารถในการขับขี่ทำโดยหลักสูตรการขับขี่ของตัวแทนการออกใบอนุญาตขับขี่ |
มีดพับ | สภาพการณ์ที่ด้านหลังของยานพาหนะเขย่าไปทางซ้ายหรือขวาอย่างแรงเนื่องจากสูญเสียการควบคุม |
รถบัสพื้นต่ำ | รถบัสที่มีพื้นต่ำกว่าปกติหรือมีทางลาดขึ้นลงแทนที่บันไดตรงทางเข้าออก เพื่อให้ผู้ทุพพลภาพขึ้นลงเองได้โดยไม่ต้องมีความช่วยเหลือ |
ไฟหน้า | ไฟที่ติดตั้งที่ด้านหน้าของยานพาหนะหรือรถจักรยานยนต์เพื่อช่วยเพิ่มการมองเห็นในเวลากลางคืน |
สัญญาณไฟกระพริบ | สัญญาณไฟกระพริบ |
แรงลาก/แรงเสียดทาน | บริเวณผิวถนนที่ล้อรถทั้งหมดหรือ ช่วงล้อรถสัมผัส |
การทดสอบความถนัดตามช่วงเวลา | การทดสอบที่จัดขึ้นเป็นระยะเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของผู้ขับในการถือครองใบอนุญาตขับขี่ |
การขับด้วยความเร็วคงที่ | การกระทำการขับด้วยความเร็วคงที่ |
ระยะหยุด | ระยะสัญจรของยานพาหนะนับตั้งแต่เมื่อผู้ขับขี่ตระหนักถึงเหตุผลที่จะหยุดจนถึงเมื่อยานพาหนะหยุดลงโดยสมบรูณ์ (ยอดรวมของระยะวิ่งเปล่าและระยะเบรค) |
เส้นหยุด | พื้นผิวถนนที่มีเครื่องหมายบอกว่ายานพาหนะควรหยุด ณ ที่ใดเมื่อมีไฟแดง |
หยุด | การกระทำการหยุดยานพาหนะ |
ใบอนญาตขับขี่ ระดับ 2 | ใบอนุญาติยานพาหนะขนาดเล็กทั่วไปหรือรถจักรยานยนต์เล็ก |
ระยะเบรค | ระยะสัญจรของยานพาหนะนับจากเมื่อเบรคเริ่มทำงานจนถึงเมื่อยานพาหนะหยุดลงโดยสมบรูณ์ |
ไฟเบรค | ไฟแดงด้านหลังของยานพาหนะที่ถูกเปิดขึ้นเมื่อกดคันห้ามล้อ เพื่อแจ้งการเบรคให้กับยานพาหนะที่กำลังตามมา |
จำกัดความเร็ว | ความเร็วสูงสุดที่อนุญาต |
(wheel) พวงมาลัย | องศาของการเปลี่ยนแปลงทิศทาง |
จุดหยุดพัก | สิ่งอำนวยความสะดวกที่คนขับสามารถหยุดพักการขับ |
ประกันความรับผิดต่อบุคคลอื่น | การประกันที่ให้ประกันครอบคลุมกว้างถึงความบาดเจ็บของร่างกายและความเสียหายของทรัพย์สินที่ประสบโดยทั้งเหยื่อของอุบัติเหตุและผู้กระทำผิดในอุบัติเหตุจราจร |
ป้ายเลี้ยวซ้าย/ขวา | ป้ายสัญญลักษณ์ที่บอกว่าสามารถเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาได้ |
เข็มขัดนิรภัย | อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันคนขับหรือผู้โดยสารยานพาหนะจากผลกระทบ |
เส้นแนะนำซ้าย | เส้นที่แนะให้การจราจรเคลื่อนไปทางซ้าย |
ถนนใหญ่ซ้าย | การกระทำการขับบนด้านซ้ายของถนน |
ถนนเชื่อมกันทางซ้าย | ถนนที่มีช่องทางเข้าเชื่อมรวมทางซ้าย |
ห้ามเลี้ยวซ้าย | ป้ายสัญลักษณ์ห้ามเลี้ยวซ้ายเพื่อประสิทธิภาพการจราจร |
ห้ามจอด/หยุด | ป้ายสัญลักษณ์ที่ห้ามยานพาหนะหยุดหรือจอด |
การจอด | การกระทำการจอดยานพาหนะ |
ความสูงกึ่งกลาง | ระยะจากพื้นผิวถนนที่ยางของรถยนต์สัมผัสไปถึงศูนย์กลางของยานพาหนะ |
พื้นที่ที่แบ่งช่องทางการจราจรสองช่องทาง | บริเวณที่จัดตั้งลงที่กึ่งกลางของถนนเพื่อแบ่งการจราจร |
เส้นกึ่งกลาง | เส้นทึบหรือเส้นประสีเหลือง หรือ แนวเส้นกึ่งกลางที่ติดตั้งบนถนนเพื่อบอกทิศทางที่ต้องการให้การจราจรเคลื่อนที่ไป |
การพิจารณาสรุป | การสอบสวนที่กระทำต่อการกระทำผิดเล็กน้อย |
สภาวะมองไม่เห็นในเวลากลางคืน | สภาพการณ์ที่การมองเห็นของคนขับลดน้อยลงเป็นอย่างมากจากการที่ไฟหน้าของยานพาหนะของเขาตัดกับไฟหน้าของยานพาหนะที่กำลังตรงมา |
รถยก | รถบรรทุกยานยนต์ที่ใช้สำหรับจัดการและบรรทุกแท่นวางสินค้าสำหรับลากเก็บหรือลำเลียง |
ไม่มีเส้นทางตรง | ป้ายห้ามถนนสัญจรตรงไป |
ระยะห่างระหว่างยานพาหนะ | ระยะระหว่างยานพาหนะสองคันที่กำลังสัญจรอยู่ในช่องทางเดินรถ นับจากด้านหลังของยานพาหนะคันข้างหน้าจนถึงด้านหน้าของยานพาหนะที่ตามมา |
ประตูกั้นทางข้าม | เครื่องมือที่ควบคุมยานพาหนะสัญจรผ่านที่ทางข้ามรางรถไฟ |
ถนนสำหรับยานพาหนะ | ส่วนของถนนที่ยานพาหนะทุกชนิดสามารถสัญจรผ่านไปมาได้ |
ช่องทางยานพาหนะ | ส่วนของถนนที่ถูกทำเครื่องหมายด้วยเส้นต่างๆ ที่ซึ่งยานพาหนะหรือม้าสามารถสัญจรผ่านได้ในเส้นทางเดียว |
ยานพาหนะและม้า | โดยรวมแล้วอ้างอิงถึงยานพาหนะยานยนต์ เครื่องจักรก่อสร้าง จักรยานยนต์ขนาดเล็ก รถเข็นสองล้อง และการสัญจรโดยใช้กำลังของบุคคลหรือสัตว์ |
ไฟข้าง | ไฟข้างแต่ละด้านของยานพาหนะที่บอกตำแหน่งของยานพาหนะและความกว้างของยานพาหนะต่อผู้อื่นในเวลากลางคืน |
ประกันการรับผิด | การประกันคนขับที่บังคับให้มีซึ่งให้เงินชดเชยขั้นต่ำกับเหยื่อของอุบัติเหตุจราจร |
ทางข้ามทางรถไฟ | จุดตัดระหว่างถนนกับทางรถไฟ |
ความเร็วสูงสุด | ความเร็วสูงสุดที่อนุญาตบนถนนทางตรง |
ความเร็วต่ำสุด | ความเร็วต่ำสุดที่อนุญาตบนถนนทางตรง |
การชนท้าย | การกระทำการชนด้านหลังของยานพาหนะอีกคัน |
ระยะห่างระหว่างล้อหน้ากับล้อหลัง | ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางล้อหน้าและล้อหลังของยานพาหนะ |
รถพ่วงข้างรถจักรยานยนต์ | ยานพาหนะที่พ่วงติดกับด้านข้างของยานพาหนะสองล้อ |
แรงลากของยาง | การเกาะติดระหว่างยางรถยนต์กับพื้นผิวถนน |
ใบอนญาตขับขี่พิเศษ | ใบอนุญาตขับขี่ที่ต้องมีในการจัดการยานพาหนะพิเศษ ( เช่น รถพ่วง) |
ยานพาหนะพิเศษ | ยานพาหนะที่มีโครงสร้างพิเศษ |
สีอ่อน/ กันแดด (กระจก) | ฟิลม์ที่ติดผิวกระจกของยานพาหนะเพื่อความเป็นส่วนตัวหรือป้องกันรังสียูวี |
เบรคไม่อยู่ | ปรากฏการณ์ที่เบรคของยานพาหนะที่กำลังเดินทางด้วยความเร็วสูงไม่สามารถเบรคได้ |
สัญญาณเตือนไฟไหม้ | อุปกรณ์ที่ทำขึ้นจากเครื่องส่งสัญญาณเพื่อแจ้งเตือนไฟไหม้ , เครื่องรับสัญญาณที่ให้การแจ้งเตือน และเตือนด้วยเสียง |
วงเวียน | ประเภทของจุดตัดทางแยก |
ทางม้าลาย | ส่วนของถนนที่ออกแบบมาเพื่อให้คนเดินเท้าสัญจรและมีการทำเครื่องหมายไว้ด้วยป้ายความปลอดภัยและการทำเครื่องหมายบนพื้นผิวถนน |
กระจกมองหลัง | ชุดกระจกด้านข้างของยานพาหนะเพื่อมองด้านหลัง |
'생활정보' 카테고리의 다른 글
[생활정보] 2016년 국립국악원 생산 자료 (4월) (0) | 2016.05.17 |
---|---|
[생활정보] 따갈로그어 운전면허 용어 해설집 (0) | 2016.05.16 |
[생활정보] 일본어 운전면허 용어 해설집 (0) | 2016.05.16 |
[생활정보] 베트남어 운전면허 용어 해설집 (0) | 2016.05.16 |
[생활정보] 러시아어 운전면허 용어 해설집 (0) | 2016.05.16 |